เมนู

อธิบาย อิติศัพท์


อิติ

ศัพท์นี้ ในบทว่า อิติ เม สุตํ นี้ แตกต่างกันโดยความหมาย
เป็นอเนกมีอาทิว่า ความหมายว่า เหตุ ความหมายว่า ปริสมาปันนะ ความ-
หมายว่า เป็นเบื้องต้น ความหมายว่า ปทัตถปริยายะ (ขยายความหมายของบท)
ความหมายว่า ปการะ (ประการ) ความหมายว่า นิทัสสนะ ความหมายว่า
อวธารณะ. จริงอย่างนั้น อิติ ศัพท์นั้น ปรากฏในความหมายว่า เหตุ
ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่เรียกว่า รูป เพราะเหตุที่
แตกสลายแล. ปรากฏในความหมายว่า ปริสมาปันนะ. ในประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของ
เราตถาคตในพระศาสนานี้เถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เราตถาคตมีความ
อนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ทำอย่างไร สาวกทั้งหลายของเราตถาคตจะพึงเป็น
ธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท. ปรากฏความหมายว่า เป็นเบื้องต้น
ในประโยคเป็นต้นว่า งดเว้นจากการดู การฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคม
ดนตรีที่เป็นข้าศึกอย่างนี้ คือ เห็นปานนี้เป็นเบื้องต้น . ปรากฏในความหมายว่า
ปทัตถปริยายะ ในประโยคเป็นต้นว่า คำว่า มาคันทิยะ เป็นชื่อ เป็นสมัญญา
เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นนาม เป็นการตั้งนาม เป็นนามไธย เป็นภาษา
เป็นพยัญชนะ เป็นคำร้องเรียกพราหมณ์นั้น. ปรากฏในความหมายว่า ปการะ
(ประการ) ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีภัยเฉพาะหน้า
บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า คนพาลมีอุปัทวะ บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ คนพาล
มีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ด้วยประการดังพรรณนามานี้แล. ปรากฏ
ในความหมายว่า นิทัสสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนกัจจานะ ความเห็น
ที่ว่า มีอยู่แล ก็เป็นที่สุดโต่งอันหนึ่ง ดูก่อนกัจจานะ ความเห็นที่ว่า ไม่มีแล
ก็เป็นที่สุดโต่งอันหนึ่ง. ปรากฏในความหมายว่า อวธารณะ อธิบายว่า ในการ

ตกลงใจในประโยคเป็นต้นว่า หากใครจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมี
เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย บุคคลนั้นก็จะพึงถูกคัดค้าน ดังนี้ว่า ชราและมรณะมี
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย.
ในที่นี้ อิติศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่า ปรากฏในความหมายว่า ปการะ
นิทัสสนะ และอวธารณะ. บรรดาความหมายทั้ง 3 อย่างนั้น ด้วยอิติศัพท์
ที่มีความหมายว่า ปการะ พระอานนทเถระ จึงแสดงความหมายนี้ไว้ว่า
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีความหมายที่ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ
มีสมุฏฐานมาจากอัธยาศัยเป็นอเนก สมบูรณ์ด้วยอรรถ และพยัญชนะ มี
ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ อย่าง ลึกซึ้งด้วยธรรม (เหตุ) อรรถ (ผล) เทศนา และ
ปฏิเวธ มากระทบคลองแห่งโสตประสาทของสรรพสัตว์ คามสมควรแก่ภาษา
ของตน ๆ ว่า ใครเล่าจะสามารถเข้าใจได้ครบทุกประการข้าพเจ้าแม้ยังความ
เป็นผู้ประสงค์จะฟังให้เกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทั้งหมด ก็ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ
แม้ข้าพเจ้าก็ฟังมาด้วยประการอย่างหนึ่ง.

อธิบายบทว่า นานานยนิปุณํ เป็นต้น


ในบทว่า นานานยนิปุณํ เป็นต้นนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
นัยต่าง ๆ อย่างกัน โดยแยกตามอารมณ์เป็นต้น กล่าวคือ เอกัตตนัย นานัตตนัย
อัพยาปารนัย และธัมมตานัย และกล่าวคือนันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีห-
วิกิฬิตนัย ทิสาโลจนนัย และอังกุสนัย ชื่อว่า นานานัย (นัยต่าง ๆ).
อีกประการหนึ่ง นัยทั้งหลายได้แก่ คติแห่งบาลี. และคติแห่งบาลีเหล่านั้น
ก็มีประการต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจบัญญัตินัย และอนุบัญญัตินัยเป็นต้น ด้วย
อำนาจสังกิเลสภาคิยาทินัย โลกิยาทินัย และตทุภยโวมิสสตานัยเป็นต้น ด้วย
อำนาจกุสลนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจขันธนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจสังคหนัยเป็นต้น